การเตรียม Manuscript สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารจากฐานข้อมูล Scopus

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2568 เวลา 9.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม MBA ชั้น 2 อาคารเรียนรวม 2 งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การเตรียม Manuscript สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารจากฐานข้อมูล Scopus" โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.มัทนชัย สุทธิพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนบทความวิจัยให้มีคุณภาพ และเพิ่มโอกาสในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งมีอาจารย์เข้าร่วมโครงการ 18 คน

Continue Readingการเตรียม Manuscript สำหรับการตีพิมพ์ในวารสารจากฐานข้อมูล Scopus

โครงการออกแบบแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

# มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดอบรมออกแบบแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยด้านยางพารา *วันที่ 17 เมษายน 2568* - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ "การออกแบบแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Roadmap) สำหรับการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านยางพารา" อย่างเข้มข้นตลอดวัน ณ ห้องประชุม 53 ที่นั่ง กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ ดร.สุธิภรณ์ ตรึกตรอง รักษาการแทนรองอธิการบดีวิทยาเขตตรัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาติ มณีมัย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ เป็นประธานกล่าวต้อนรับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.ธีระวุฒิ พิชญสัจจา จากบริษัท แกรนด์ เคมีเคิล ฟาร์อีสต์ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา การอบรมครั้งนี้ได้รวบรวมผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญมาร่วมระดมความคิดเห็น เพื่อวางกรอบการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมยางพาราอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้และสร้างแนวทางที่เป็นรูปธรรม สอดคล้องกับบริบทของภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของประเทศ "การวางแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ถือเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับงานวิจัยยางพาราของมหาวิทยาลัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม" ผู้เข้าร่วมท่านหนึ่งกล่าว…

Continue Readingโครงการออกแบบแผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงการติดตามความก้าวหน้าการเขียนหนังสือและตำรา

เมื่อวันที่ 11 เมษยน 2568 ณ ห้องประชุม 2202 เวลา 13.00 - 16.00 น. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้จัดโครงการติดตามความก้าวหน้าการเขียนหนังสือและตำราโดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ญาณวิทย์ ดร.อลงกลด แทนออมทองและ รองศาสตราจารย์.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้ร่วมวิพากษ์ผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการอย่างใกล้ชิด พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการที่สูงยิ่งขึ้น

Continue Readingโครงการติดตามความก้าวหน้าการเขียนหนังสือและตำรา

โครงการอบรม หัวข้อ “AI4R2R: พลิกงานประจำสู่งานวิจัยด้วยปัญญาประดิษฐ์”

เมื่อวันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้อง Lab com 1 งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการอบรม่เชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “AI4R2R: พลิกงานประจำสู่งานวิจัยด้วยปัญญาประดิษฐ์” เพื่อสร้างองค์ความรู้และเพิ่มทักษะการวิจัยให้กับบุคลากรห้องค์กร ผ่านการใช้ AI เป็นเครื่องมือสนับสนุน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน 1.คุณสุริยันต์ บุญเลิศวรกุล 2.คุณอุไรไปรฮูยัน 3.คุณนิติวัฒน์ ทองขาว ซึ่งผู้เข้าร่วมประมาณ 30 คน คุณสุริยันต์ บุญเลิศวรกุล ได้บรรยายและฝึกปฏิบัติ หัวข้อเข้าใจแนวคิด R2R และความสําคัญของการพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย เรียนรู้วิธีใช้ AI เพือสนับสนุนกระบวนการวิจัย และทดลองใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ สังเคราะห์…

Continue Readingโครงการอบรม หัวข้อ “AI4R2R: พลิกงานประจำสู่งานวิจัยด้วยปัญญาประดิษฐ์”

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อขอทุนจากหน่วยงานภายนอก

วันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลา 13.00-16.00 น. งานวิจัยและนวัตกรรม โครงการอบรม หัวข้อ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อขอทุนจากหน่วยงานภายนอก” นำโดย ดร.สุธิภรณ์ ตรึกตรอง รองอธิการบดีวิทยาเขตตรัง โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม วิทยาเขตปัตตานี เป็นวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อขอทุนจากหน่วยงานภายนอก และแนะนำตัวอย่างของปัตตานี -แผนงานมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ชุดโครงการ มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ -โครงการการวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อการลดความยากจนและการพัฒนาความเท่าเทียมในประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี่ -หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ปีงบประมาณ 2566 ให้กับอาจารย์ ประมาณ 20 คน -------------------------

Continue Readingการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อขอทุนจากหน่วยงานภายนอก

งานสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8 นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบสร้างสรรค์

คณะสถาปัตย์ ม.อ. และภาคีเครือข่าย เป็นเจ้าภาพในการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์: สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8 โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 100 ผลงาน จากหลากหลายสถาบัน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังและภาคีเครือข่าย สภาสถาปนิก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดโครงการนิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ สถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่าง วันที่ 12 ธันวาคม 2567 – 12 มกราคม 2568 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นิทรรศการดังกล่าว ได้จัดพิธีเปิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก…

Continue Readingงานสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8 นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบสร้างสรรค์

 โครงการการใช้ AI ในการเขียนหนังสือและตำรา#3 (28-29/11/67)

วันที่ 28-29 พ.ย. 67 เวลา 09.00-16.00 น. งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ "การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ.รศ.ศ.) ครั้งที่ 3" โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและรองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนหนังสือและตำรา ซึ่งท่านวิทยากรติดตามและตรวจการจัดวางโครงหนังสือ ตำรา และดูการเริ่มเขียนบทต่าง ๆ ให้กับอาจารย์ ประมาณ 20 ผลงาน และมีการใช้เครื่องมือ AI หลายตัวเข้ามาช่วยในการเขียนตำราให้ง่ายขึ้น และการเทคนิควิธีเขียนเนื้อหา และการเขียนอ้างอิง สามารถดูวิดีโอย้อนหลังได้ที่ >>> https://lms2.psu.ac.th/course/view.php?id=7981 ------------------------- งานวิจัยและนวัตกรรม…

Continue Reading โครงการการใช้ AI ในการเขียนหนังสือและตำรา#3 (28-29/11/67)

งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ “การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) ครั้งที่ 2 (4-10-67)

วันศุกร์ที่ 4 ต.ค. 67 เวลา 09.00-16.00 น. งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ "การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ.รศ.ศ.) ครั้งที่ 2" นำโดย อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและรองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนหนังสือและตำรา ซึ่งในวันนี้ท่านวิทยากรตรวจการจัดวางโครงหนังสือ ตำรา ให้อาจารย์ ประมาณ 20 ผลงาน และมีการใช้เครื่องมือ AI หลายตัวเข้ามาช่วยในการเขียนตำราให้ง่ายขึ้น และการเทคนิควิธีเขียนเนื้อหา และการเขียนอ้างอิง สามารถดูวิดีโอย้อนหลังได้ที่…

Continue Readingงานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ “การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) ครั้งที่ 2 (4-10-67)

งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ “การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) ครั้งที่ 2 (3-10-67)

วันพฤหัสบดีที่ 3 ต.ค. 67 เวลา 09.00-16.00 น. งานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ "การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) ครั้งที่ 2" นำโดย อาจารย์วรวุฒิ มัธยันต์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.อลงกลด แทนออมทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและรองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นวิทยากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเขียนหนังสือและตำรา ซึ่งมีการใช้เครื่องมือ AI หลายตัวเข้ามาช่วยในการเขียนตำราให้ง่ายขึ้น โดยมีอาจารย์ผู้เข้าร่วมโครงการประมาณ 27 คน และได้ดำเนินการส่งชื่อหนังสือ ตำรา ในวันนี้ประมาณ 25…

Continue Readingงานวิจัยและนวัตกรรม จัดโครงการ “การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเขียนหนังสือและตำรา เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ (ผศ. รศ. ศ.) ครั้งที่ 2 (3-10-67)

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ หารือเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยและการจัดงานสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8

*** เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ หารือเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยและการจัดงานสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรกัญญา ง่วนสนสกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตร และบุคลากร ฝ่ายงานวิจัยและนวัตกรรม *** ณ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดยคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.วิรุจ ถิ่นนคร รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสาตร์และการออกแบบ ให้เกียรติให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

Continue Readingร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ หารือเกี่ยวกับการพัฒนางานวิจัยและการจัดงานสถาปัตย์นิทรรศน์ ครั้งที่ 8